กศน.ตำบลโพนครก
1. ข้อมูลสภาพทั่วไป
๑.๑ ชื่อ กศน.ตำบลโพนครก สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
๑.๒ สถานที่ตั้ง/การติดต่อ ที่อยู่ อาคารแสดงสินค้าประจำตำบลโพนครก บ้านห้วยอารีย์ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลโพนครก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ๓๒๑๒๐
๑.๓ สภาพทางกายภาพของชุมชน/ตำบล
พื้นที่ตำบลโพนครก ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ดินทราย และดินเค็มเก็บกักน้ำไม่อยู่ เป็นที่นามีความลาดเทจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก บริเวณพื้นที่ส่วนกลางจะมีความสูงเล็กน้อย ที่ตั้งของหมู่บ้านจะอยู่สูงกว่าปกติ เนื่องจากมักประสบปัญหาน้ำท่วมขังโดยเฉพาะพื้นที่ที่ใกล้แม่น้ำมูลและลำพลับพลา น้ำจะท่วมถึงก่อนที่อื่น พื้นที่นี้จะมีลักษณะเป็นป่าละเมาะ และหนองน้ำตามธรรมชาติเป็นแอ่ง เกษตรกรจะใช้พื้นที่นี้ทำนา โดยใช้พันธุ์ข้าวมะลิ กข.๑๐๕ ส่วนบริเวณติดกับแม่น้ำมูลเหมาะกับการเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ เป็ด
ลักษณะอากาศโดยทั่วไป
อยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมที่พัดผ่านประจำ ๒ ชนิดพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาวเรียกลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ภาวะอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง ลมมรสุมอีกชนิดหนึ่งลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่ง ทำให้เกิดฝนตก อากาศชุ่มชื่นและมีฝนตกทั่วไป
ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี ๓ ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนตุลาคม – เดือนกุมภาพันธ์
จุดเด่นของพื้นที่
- มีพื้นที่บางส่วนติดกับแม่น้ำมูล และลำพลับพลา มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถ พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ เช่น บริเวณฝายน้ำล้นของลำน้ำกุดมะโน ม.๗ บ้านกุดมะโน
- มีพื้นที่เป็นป่าละเมาะ และหนองน้ำธรรมชาติมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ เกษตรกรจะใช้ พื้นที่เป็นแหล่งนี้ทำการเกษตร ใช้พันธุ์ข้าวหอมมะลิ กข.๑๐๕ พื้นที่มีน้ำขังตลอดทั้งปี
- ชุมชนในพื้นที่ยังมีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นอย่างเข้มแข็ง เช่น การแข่งเรือประจำตำบล ประเพณีลอยกระทง ฯลฯ ภาษาพูด ภาษาไทย – ลาว ,ภาษาไทย – เขมร
๑.๔ อาณาเขต ขนาดที่ตั้ง ของกศน.ตำบล
เนื้อที่ทั้งหมดขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนครก มีประมาณ ประมาณ ๙๖ ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ ๖๐,๐๐๐ ไร่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าตูม ระยะทางประมาณ ๑๓ กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวง
แผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ ระยะทางประมาณ ๖๓ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๓ งาน เริ่มใช้ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๓ ในรูปแบบของศูนย์การเรียนชุมชนตำบลโพนครกจนถึงปัจจุบันโดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
|
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลท่าตูม ตำบลหนองบัว อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลทุ่งกุลา อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
๑.๕ ลักษณะของอาคาร
ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์แสดงผลิตภัณฑ์ประจำตำบลโพนครก หมู่ที่ ๑๐ ตำบลโพนครก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดย กศน.ตำบลโพนครกได้รับความอนุเคราะห์สถานที่ดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบจากองค์การบริหารส่วนตำบลโพนครก
๒.สภาพชุมชนสังคม/ประชากร
กศน.ตำบลโพนครก แบ่งการปกครองย่อยออกเป็น ๑๖ หมู่บ้าน
จำนวนหมู่บ้าน ๑๖ หมู่ ประกอบด้วย
หมู่ที่ | บ้าน | เนื้อที่/ไร่ | พื้นที่การเกษตร |
๑ | บ้านโพนครก | ๕,๒๕๐ | ๔,๔๕๐ |
๒ | บ้านโพนขวาว | ๒,๒๐๐ | ๑,๘๐๐ |
๓ | บ้านขี้เหล็ก | ๓,๒๑๕ | ๒,๘๐๐ |
๔ | บ้านสำโรง | ๒,๔๕๗ | ๑,๘๐๐ |
๕ | บ้านสะเอิง | ๕,๕๑๓ | ๔,๐๑๗ |
๖ | บ้านขี้ตุ่น | ๔,๒๐๐ | ๒,๕๐๐ |
๗ | บ้านกุดมะโน | ๓,๘๑๒ | ๒,๕๐๐ |
๘ | บ้านเชียงท้าว | ๔,๑๐๐ | ๒,๔๐๐ |
๙ | บ้านสมสะอาด | ๔,๗๐๐ | ๓,๕๐๐ |
๑๐ | บ้านห้วยอารีย์ | ๒,๗๐๐ | ๑,๖๐๐ |
๑๑ | บ้านโพนยาง | ๑,๘๐๐ | ๖๕๐ |
๑๒ | บ้านหนองเรือ | ๓,๔๐๐ | ๑,๕๐๐ |
๑๓ | บ้านโพนครก (ตาขีน) | ๓ ,๗๐๐ | ๑ ,๒๐๐ |
๑๔ | บ้านโนนถั่ว | ๑,๘๗๐ | ๗๕๐ |
๑๕ | บ้านโพนครก | ๓,๒๕๐ | ๑,๘๐๐ |
๑๖ | บ้านสำโรงเหนือ | ๒,๔๒๕ | ๑,๐๐๐ |
รวม | ๕๔,๕๙๒ | ๓๔,๓๖๗ |
๒.๑ สภาพชุมชน
จำนวนประชากรทั้งสิ้น จำนวน ๒,๐๑๑ หลังครัวเรือน ประชากรทั้งหมด ๙,๒๔๘ คนแยกเป็น
ชาย ๔,๖๒๑ คน หญิง ๔,๖๒๗ คน
ตารางแสดงจำนวนประชากรในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโพนครก
ที่ | จน.ครัวเรือน | ประชากรทั้งหมด | ชาย | หญิง | เนื้อที่/ตร.กม. | ความหนาแน่น |
๑ | ๑๑๘ | ๕๙๓ | ๓๐๖ | ๒๘๗ | ๑๐.๒ | ๕๙.๐๒ |
๒ | ๑๐๘ | ๕๑๕ | ๒๖๘ | ๒๔๗ | ๔.๑ | ๑๒๘.๕๔ |
๓ | ๑๗๖ | ๗๘๗ | ๓๘๔ | ๔๐๓ | ๗ | ๑๑๖.๒๙ |
๔ | ๙๒ | ๓๕๓ | ๑๘๘ | ๑๖๕ | ๔.๒ | ๘๘.๕๗ |
๕ | ๑๕๓ | ๖๗๗ | ๓๓๙ | ๓๓๘ | ๒.๓ | ๓๑๒.๖๐ |
๖ | ๑๕๙ | ๗๒๖ | ๓๗๐ | ๓๕๖ | ๒.๘ | ๒๘๖.๙๒ |
๗ | ๑๔๒ | ๕๔๒ | ๒๖๑ | ๒๘๑ | ๑๒ | ๔๖ |
๘ | ๘๓ | ๓๘๕ | ๑๘๔ | ๒๐๑ | ๒.๖ | ๑๔๖.๑๕ |
๙ | ๒๓๔ | ๙๔๘ | ๔๔๘ | ๕๐๐ | ๔ | ๒๓๗.๒๕ |
๑๐ | ๑๑๙ | ๕๐๘ | ๒๖๓ | ๒๔๕ | ๔.๒ | ๑๒๓.๓๓ |
๑๑ | ๗๖ | ๓๗๗ | ๑๙๙ | ๑๗๘ | ๕ | ๗๕ |
๑๒ | ๑๓๑ | ๕๘๗ | ๒๘๕ | ๓๐๒ | ๒ | ๒๙๓.๕ |
๑๓ | ๑๑๑ | ๕๓๕ | ๒๗๙ | ๒๕๖ | ๐.๘ | ๖๖๗.๕ |
๑๔ | ๖๓ | ๒๙๘ | ๑๔๓ | ๑๕๕ | ๑๕ | ๑๙.๒ |
๑๕ | ๑๗๘ | ๙๓๒ | ๔๖๓ | ๔๖๙ | ๑๘ | ๕๒.๔๔ |
๑๖ | ๙๕ | ๔๒๘ | ๒๒๔ | ๒๐๔ | ๒ | ๒๒.๕ |
ที่มา : ข้อมูลสำนักบริหารการทะเบียนอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ กรมการปกครอง
๒.๒ สภาพทางเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ และโครงสร้างอาชีพของชุมชน รายได้เฉลี่ยของประชากร
อาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม ประมาณ ร้อยละ ๙๐
อาชีพเสริม ได้แก่ ค้าขาย/รับจ้าง ประมาณ ร้อยละ ๑๐
พืชเศรษฐกิจ คือ ข้าวหอมมะลิ
สัตว์เศรษฐกิจ คือ โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่